รู้ไว้ก่อนพลาดกับทำเว็บแบบไหนถึงผิดลิขสิทธิ์?

ถ้าพูดถึงการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมา 1 เว็บไซต์แล้ว แน่นอนว่าจะต้องมีองค์ประกอบหลาย ๆ องค์ประกอบ นำมารวมกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการนำภาพกราฟิก เข้ามาประกอบในเว็บไซต์ การตกแต่งเว็บไซต์ รูปภาพ บทความ ต่าง ๆ ซึ่งในส่วนของรูปภาพ หรือการตกแต่งต่าง ๆ แน่นอนว่า จะต้องไปนำรูปหรือกราฟิกต่าง ๆ มาจากเว็บไซต์อื่น ๆ ซึ่งบางครั้ง ก็ถือว่าเป็นการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะว่าผู้สร้างเว็บไซต์หลายคนที่เป็นมือใหม่ ที่พยายามหัดสร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเอง ก็ไม่รู้ว่ารูปภาพที่ตัวเองเอามานั้น ถูกลิขสิทธิ์หรือไม่ หรือว่าผิดลิขสิทธิ์ ซึ่งถ้าเจ้าของผลงานนั้นมาเห็น ก็อาจจะกลายเป็นเรื่องฟ้องร้องใหญ่โต สำหรับวันนี้เราจะมาแนะนำให้คุณผู้อ่าน ได้ทำความรู้จักกับความรู้พื้นฐาน ในเรื่องของการทำเว็บไซต์ว่า ทำแบบไหนถึงจะผิดลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์คืออะไร?

สิ่งนี้ ก็คือ การคุ้มครองทางกฎหมาย ที่มีหน้าที่คุ้มครองผู้สร้างเนื้อหา ไม่ว่าจะเป็นรูป เพลง วีดีโอคลิป งานเขียนและอื่น ๆ ที่จัดอยู่ในทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นการปกป้องไม่ให้ผู้อื่นนั้น นำผลงานของผู้สร้างสรรค์ไปใช้ โดยไม่ได้รับการอนุญาตสำหรับลิขสิทธิ์นี้ จะเกิดขึ้นมานับตั้งแต่วินาทีแรก ที่ผลงานนั้นถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา ก็จะเป็นการได้รับการปกป้องทางลิขสิทธิ์อย่างสมบูรณ์แล้ว โดยที่เจ้าของผลงานไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนตามกฎหมายก็ได้ ซึ่งถือว่าเป็นการคุ้มครองแบบอัตโนมัตินั่นเอง ถึงคุณจะไม่มีความรู้ในเรื่องของลิขสิทธิ์เลย และคุณดันไปเอารูปภาพ หรือผลงานต่าง ๆ ของเจ้าของภาพมาใช้ในเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งคุณจะอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้ เพราะอย่างไรกฎหมายก็จะมองว่าคุณเป็นคนผิดอยู่ดี

เจ้าของเว็บไซต์จะต้องเป็นผู้จัดการแบบเต็มๆ

ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้สร้างเว็บไซต์เอง อาจจะให้ใครสักคนสร้างเว็บไซต์ให้ แต่เมื่อพบว่าเว็บไซต์ของคุณนั้น มีการละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้ที่จะต้องถูกดำเนินการทางกฎหมาย ก็คือ เจ้าของเว็บไซต์นั่นเอง หากแต่อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณมีกฎหมายสัญญาการจ้างงานต่าง ๆ คุณก็สามารถนำเอกสารฉบับนี้ ไปฟ้องร้องผู้สร้างเว็บไซต์ได้อีกทีหนึ่ง สำหรับตามกฎหมายของประเทศไทยแล้ว เนื้อหาที่นำมาสร้างเว็บไซต์และผิดลิขสิทธิ์ ได้แก่…

  • งานเขียน ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนประเภทใดก็ตาม เช่น บทความ ที่คัดลอกมาจากหนังสือ คำบรรยายต่าง ๆรวมทั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • งานศิลปะ เช่น รูปภาพ, รูปถ่าย, ภาพกราฟิก ต่าง ๆ เป็นต้น
  • งานเสียง เช่น เสียงดนตรีประกอบเสียงเพลงต่าง ๆ
  • ภาพยนตร์ ซึ่งครอบคลุมไปถึงการถ่ายภาพจากวีดีโอคลิป, ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ
  • การแสดง ซึ่งอาจจะมาจากงานแสดงบันทึกสดต่าง ๆ

แล้วต้องทำอย่างไรถึงจะไม่ผิดลิขสิทธิ์?

สิ่งที่ผิดลิขสิทธิ์ที่พบมากส่วนใหญ่ในการสร้างเว็บไซต์ของคนไทย นั่นก็คือ การนำรูปที่ไม่ได้รับการอนุญาต จากเจ้าของมาใช้ประกอบในบทความ หรือใช้ภาพกราฟิกต่าง ๆ ในเว็บไซต์ เพราะฉะนั้น เราจึงขอแนะนำให้คุณซื้อรูปจากเว็บไซต์ขายรูปโดยตรง ซึ่งนี่ก็เป็นทางเลือกที่เว็บไซต์หลายเจ้า ที่เปิดใหม่เลือกทางนี้กันมาก เพราะจะทำให้คุณนำรูปเหล่านี้ไปใช้ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายเลยทีเดียว และเพื่อความไม่ประมาท หลังจากที่คุณซื้อรูปนั้นมาใช้งานแล้ว ก็อย่าลืมเก็บใบเสร็จ ในการจ่ายเงินเอาไว้ให้ดี เผื่อในภายภาคหน้า ไม่ทราบว่าเหตุการณ์อันใดจะเกิดขึ้น และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว คุณมีหลักฐานตรงนี้คุณก็จะสามารถรอดพ้นจากความผิดได้นั่นเอง

คำแนะนำสุดท้าย

ให้คุณพยายามระวังรูปถ่าย ที่มักจะแถมมากับ Template ของเว็บไซต์ เอาไว้ให้มาก เพราะความจริงก็คือ ถึงแม้ว่าคุณจะจ่ายเงินซื้อ Template มาใช้ก็ตาม แปลว่าคุณใช้เงินซื้อ CODE กับ Lay Out ของเว็บไซต์นั้นมา ไม่ได้หมายความว่าคุณซื้อรูปนั้นมาใช้งานแต่อย่างใด เพราะฉะนั้น ก็ขอให้คุณระวังตรงจุดนี้เอาไว้ด้วย เพื่อที่ว่าจะได้ไม่ต้องพบกับปัญหา ที่จะทำให้เกิดความยุ่งยากจ่ายขึ้นมาในภายหลังอีกด้วย