มาดูกันว่า “เว็บเพจ” ที่ดีต้องมีอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการทำเว็บ

เว็บไซต์
เว็บเพจ ที่ดีต้องมีอะไรบ้าง

เวลาเราจะทำเว็บไซต์ขึ้นมาสักโปรเจคหนึ่ง ภายในเว็บไซต์นั้นจะต้องประกอบไปด้วย หน้าเว็บมากมายหลายหน้า เปรียบเสมือนแผนกต่างๆของร้านค้าร้านหนึ่ง ทีนี้หากเป็นการจัดร้านค้าเรารู้ดีว่าต้องจัดอย่างไร แต่ถ้าเป็นหน้าเว็บล่ะ เราจะต้องทำอย่างไรถึงจะบอกได้ว่าเป็นหน้าเว็บที่มีคุณภาพ  เรามีเคล็ดลับมาบอกกัน

หน้าเว็บที่มีคุณภาพสำคัญอย่างไร

การทำหน้าเว็บให้มีคุณภาพมีความสำคัญมากหลายคนอาจจะถามต่อว่า แล้วมันสำคัญอย่างไร สำคัญกับอะไร เราขอแบ่งออกเป็นสองประเด็น หน้าเว็บที่มีคุณภาพจะตอบสนองกับตัวชี้วัดของกูเกิ้ล เพื่อประเมินว่าเว็บไซต์ของเรามีคุณภาพหรือไม่ หากเราประเมินผ่านได้คะแนนดี ได้เกณฑ์ดี เว็บไซต์ของเรากูเกิ้ลก็จะจัดวางไว้ที่หน้าแรกของการค้นหาคำที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์เรา ลองนึกภาพว่าหากเราทำเว็บไซต์ขายรองเท้าแตะแล้วมีคนค้นหาคำนี้บนกูเกิ้ลสัก 1,000 ครั้งต่อวัน แล้วเห็นของเราอยู่บนหน้าแรก จะมีคนเข้ามาชมร้านเรากี่คนและซื้อกี่คน สองหน้าเว็บที่มีคุณภาพจะสอดคล้องกับประสบการณ์การเข้าใช้งานของคนเล่นด้วย ถ้าเข้ามาแล้วมีประสบการณ์ที่ดี จริงอยู่อาจจะไม่ได้ซื้อวันนี้แต่จะทำให้เค้าจดจำเราได้แล้วหากจะซื้อสินค้าก็จะนึกถึงเว็บไซต์เราไว้ก่อน ยังไม่รวมถึงการบอกต่อคนอื่นด้วยนะ

หน้าเว็บที่ดีต้องมี คำสำคัญ

มาดูองค์ประกอบที่จะทำให้หน้าเว็บของเรามีคุณภาพบ้างดีกว่า สิ่งแรกเลยก็คือ หน้าเว็บจะต้องมีคียเวิร์ด หรือ คำสำคัญ หน้าเว็บไซต์จะต้องมีคำสำคัญที่ชี้ชัดว่า หน้าเว็บนั้นเรากำลังจะพูดถึงเรื่องอะไรที่ต้องการจะสื่อ จะขายสินค้า เสื้อผ้า รองเท้า อาหาร ของที่ระลึก ต้นไม้ บริการนวด ตัดผม ตัดเสื้อผ้า ฯลฯ ต้องมีคำนั้นออกมาอย่างชัดเจน แต่จำนวนคำสำคัญจะต้องไม่มากเกินไป จนทำให้กูเกิ้ลคิดว่ามันคือสแปม ซึ่งอาจจะได้ผลตรงกันข้าม

หน้าเว็บต้องมีระเบียบ

ทีนี้การจัดหน้าเว็บ ก็เหมือนกับเราจัดสินค้าบนชั้นวาง หรือ จัดชั้นวาง บนพื้นที่ขายของในร้าน เราจะต้องมีการวางแผนการจัดร้าน ให้เป็นระเบียบไม่รก หรือ ไม่ร้างจนเกินไป ลองนึกภาพว่า เราเข้าเว็บไซต์หนึ่ง เปิดไปเจอหน้าเว็บที่เต็มไปด้วยข้อมูล รูปภาพ มากมาย ระเกะระกะไปหมด เราก็คงไม่ทนอ่านหรอก หรือ เปิดไปเจอแต่หน้าว่างขาวโล่ง ก็คงจะคิดว่านี่เป็นเว็บไซต์ปลอมออกดีกว่าอะไรประมาณนี้

เนื้อหาพอดีพองาม

หน้าเว็บแต่ละหน้าของเว็บไซต์ส่วนใหญ่จะเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ธุรกิจที่เรากำลังทำอยู่ หรือ บางหน้าจะเป็นการนำเสนอสินค้า และบริการของเราเองว่ามีอะไรบ้าง สินค้าเป็นอย่างไร ทีนี้ตรงคำบรรยาย หรือบทความที่อัพลงไปนั้น เราแนะนำว่าจะต้องเป็นบทความที่มีขนาดกำลังพอดี ไม่มากจนกลายเป็นงานวิชาการอันน่าเบื่อ(ยาวเกินไม่มีใครอ่าน) หรือ น้อยจนกลายเป็นนิทานอีสปกล่อมเด็ก ตรงนี้เราแอบบอกนิดหนึ่งว่าบทความที่เขียนลงไปควรจะอยู่ที่ 500-700 คำของ word ก็พอดีแล้ว

ต้องมีปุ่ม CTA

มาถึงกลไกสำคัญเลยบอกเลยว่าตรงมีตัวนี้ นั่นก็คือปุ่ม CTA ย่อมาจากคำว่า Call to Action คำนี้หมายถึงการสร้างปุ่มหรือวัตถุบางอย่างเพื่อให้ลูกค้าที่สนใจสินค้าสามารถกดเลือกซื้อสินค้าได้ ลองนึกภาพตามว่าเวลาเราไปร้านค้าออนไลน์อย่าง ลาซาด้า จะมีปุ่มตะกร้าให้กด แบบนั้นแหละ พอกดแล้วจะซื้อไม่ซื้ออีกเรื่องหนึ่ง ปุ่มนี้จะช่วยให้ผู้ซื้อเช็คได้ด้วยว่า ร้านค้านี้ขายของจริง และมีผลต่อการทำสถิติหลังบ้านเพื่อเอาไปวิเคราะห์อีกด้วย ลองไปปรับใช้กันดู